ฉนวนซับเสียง หรือ แผ่นซับเสียง เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้คนมากมายมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสามรถป้องกันเสียงรบกวนได้มากถึง 35% แผ่นซับเสียงมักถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการลดความก้อง เสียงสะท้อน หรือความดังภายในห้องนั้น ๆ นั่นเอง แล้ววัสดุอะไรที่เหมาะกับการใช้เป็นฉนวนซับเสียงมากที่สุด วันนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน
วัสดุชนิดนี้ เหมาะเป็นแผ่นซับเสียงที่สุดแล้ว
เป็นที่ทราบกันดีว่าวัตถุทุกอย่างบนโลกนี้มักมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงได้อย่างแน่นอนเพียงแต่จะมีความมากหรือน้อยต่อการดูดซับนั้นแตกต่างกัน และแน่นอนว่าการเกิดเสียงก้องภายในห้องก็มาจากแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณพื้นผิวห้อง เช่น เดียวกันสังเกตได้จากห้องที่โล่ง หากมีเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของวางอยู่เรียงรายความก้องของเสียงก็จะค่อนข้างน้อยแต่ในทางกลับกันห้องใดที่ไม่มีสิ่งใดวางหรือเป็นห้องเปล่าเสียงนั้นจะมีความก้องมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุในการดูดซับเสียงดี ๆ ที่จะสามารถป้องกันการเกิดเสียงก้องได้นั่นเอง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ฉนวนซับเสียงประเภทแผ่นเรียบบาง
ฉนวนซับเสียงประเภทแผ่นเรียบบาง มักจะถูกนำมาใช้ในการกั้นห้องแบบทั่ว ๆ ไป โดยใช้หลักการในการดูดซับเสียง ซึ่งเมื่อพลังงานเสียงเดินทางเข้ามาปะทะกับพื้นผิวของแผ่นซับเสียงที่มีพื้นผิวบางก็จะเกิดการสั่น ทำให้พลังงานเสียงถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานกลแทนมันเป็นสาเหตุที่ ทำให้เสียงถูกดูดซับไป อีกทั้ง หากแผ่นซับเสียงถูกกระตุ้นด้วยเสียงที่มีความถี่ต่ำมากกว่าความถี่สูงก็จะ ทำให้การดูดซับเสียงสามารถดูดซับความถี่ต่ำบางความถี่ได้ดีมากยิ่งขึ้น
2. ฉนวนซับเสียงประเภทเส้นใย
หลักการทำงานของฉนวนซับเสียงประเภทนี้ หากพลังงานเสียงเดินทางเข้ามาภายในห้องเสียงนั้นจะเข้าไปในเนื้อของวัสดุและอนุภาคอากาศภายในเนื้อก็จะเกิดการสั่นสะเทือนภายในโครงช่องว่างนั้น ทำให้แรงเสียดทานระหว่างอนุภาค อากาศ ทำให้พลังงานเสียงเกิดการสั่นและถูกเสียดทานจนกลายเป็นพลังงานความร้อนแทนอีกครั้งยัง ทำให้พลังงานเสียงมีน้อยมากจึงมีความสามารถในการลดความก้องของเสียงได้เป็นอย่างดี
3. ฉนวนซับเสียงแบบปริมาตร
ตัวอย่างของฉนวนซับเสียงแบบปริมาตร เช่น การใช้แผ่นยิปซั่มที่เจาะรูแล้วมีกระดาษบาง ๆ ปิดบริเวณผิวอยู่ด้านหลัง เช่น แผ่น Echo Block ซึ่งจะทำให้พื้นผิวด้านหน้ามีรูและด้านหลังพื้นผิวจะเป็นโพรงอากาศโล่ง โดยกลไกในการทำงานของฉนวนชนิดนี้จะสามารถดูดซับเสียงให้เข้าผ่านทางรูที่ได้เจาะเอาไว้อย่างพอเหมาะ ซึ่งเมื่อเสียงได้เดินทางเข้าไปแล้วรู้จักกระตุ้นอนุภาคอากาศที่อยู่ด้านหลังโครง ทำให้พลังงานเสียงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการสั่นสะเทือนบริเวณโพรงอากาศที่อยู่ด้านหลังรูและพลังงานเสียงก็จะสูญเสียไปจากการเปลี่ยนแปลงของพลังงานกลนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าเสียงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีตัวกลางในการดูดซับ ซึ่งจะช่วยให้ความก้องของเสียงนั้นลดลงได้อย่างชัดเจนและ ทำให้ประสิทธิภาพในการเพิ่มความเงียบให้กับบริเวณพื้นที่ภายในห้องเป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น หากใครที่กำลังมอง หาการติดตั้งฉนวนซับเสียงดี ๆ ติดต่อเรามาได้เลยในตอนนี้
コメント